Header Image
หน้าแรก/Home
ข่าวสารสมุนไพรและสุขภาพ
ข่าวสารการจัดการธุรกิจสปา
ข่าวสาร/กิจกรรม
สมัครสมาชิกชมรมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
ความรู้ด้านสปาเพื่อสุขภาพ
ข้อมูลด้านการแพทย์ทางเลือก
กฎหมายวิชาชีพ/สถานพยาบาล
ข้อมูลโรค/ปัญหาสาธารณสุข
สาระสมุนไพรน่ารู้
เว็บลิ้งค์/Links
เว็บบอร์ด/Board
ผู้พัฒนาเว็บไซต์/เว็บมาสเตอร์
ค้นข้อมูล/Advanced Search
ห้องสมุดออนไลน์รวมลิ้งก์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
เว็บเครือข่าย
BanBuaThai.com
สนง.ส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ
มูลนิธิการแพทย์ทางเลือกเพื่อมะเร็ง
ได้รับความนิยมสูง
ข่าวสารล่าสุด
สถิติการใช้งาน
ผู้เยี่ยมชม: 3067400
หน้าแรก/Home arrow ข่าวสาร/กิจกรรม arrow ความรู้ด้านเวชกรรมไทย-รหัสโรคทางการแพทย์แผนไทย
ความรู้ด้านเวชกรรมไทย-รหัสโรคทางการแพทย์แผนไทย PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท-Webmaster   

Image 

รหัสการแพทย์แผนไทยนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของรหัส ICD-10-TM (บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ  ฉบับแก้ไขครั้งที่ ๑๐  ดัดแปลงสำหรับประเทศไทย)  โดยประกอบด้วยทั้งรหัสการวินิจฉัยโรคและอาการ  และรหัสหัตถการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของแพทย์แผนไทย  ที่ต้องการมีรหัสการวินิจฉัยและหัตถการเป็นของตัวเอง  ซึ่งจะสร้างประโยชน์อย่างยิ่งในงานรวบรวมเวชสถิติ  เพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างมาตรฐานการแพทย์แผนไทย

เนื่องจากเป็นหนังสือรหัสการแพทย์แผนไทย  ในการพิมพ์จึงได้พยายามใช้อักษรไทยและเลขไทยให้มากที่สุด  คงเหลือส่วนที่จำเป็นต้องใช้อักษรและเลขต่างชาติเฉพาะในส่วนที่เป็นรหัสเท่านั้น  เพื่อให้สามารถใช้ถ่ายทอดข้อมูลไปเผยแพร่ยังนานาประเทศได้    

 

 

รหัสการวินิจฉัยโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทย

 

                                                รหัสการวินิจฉัยโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทย เป็นรหัสที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข  เช่นเดียวกับรหัส ICD-10 ที่ใช้กับโรคและอาการแผนปัจจุบัน  โดยหลักแรกที่อยู่ซ้ายมือสุดของทุกรหัสเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว U  ตามด้วยรหัสที่เป็นเลขอารบิกอีก ๒ ถึง ๔ หลัก  รวมเป็นรหัส ๓ ถึง ๕ หลัก  แล้วแต่ความละเอียดของรหัส  โดยมีเครื่องหมายจุดคั่นระหว่างรหัสหลักที่ ๓ กับหลักที่ ๔  เหตุที่สร้างเป็นรหัสที่ขึ้นต้นด้วยอักษร U  เพราะองค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นผู้บริหารและควบคุมการใช้รหัส ICD-10 ได้สงวนตัวอักษร Uไว้สำหรับเป็นรหัสที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ  โดยสำรองรหัสตั้งแต่ U50 เป็นต้นไปไว้ใช้ในวัตถุประสงค์พิเศษของแต่ละประเทศสมาชิก  ดังนั้นรหัสการวินิจฉัยโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทยที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “U”  ตั้งแต่  U50 ถึง U77  จึงถูกกำหนดเป็นรหัสการวินิจฉัยบทที่ ๒๓  ต่อจากบทที่ ๒๒ ซึ่งเป็นบทสุดท้ายของ ICD-10 และ ICD-10-TM

                                                ด้วยเหตุที่ชื่อโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทยยังมีความหลากหลายและแตกต่างกัน  ตามแต่ที่ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์แต่ละเล่มที่แพทย์แผนไทยแต่ละท่านยึดถือเป็นตำราสืบต่อกันมา  ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของผู้ใช้รหัสทุกท่าน ชื่อโรคและอาการที่นำมาสร้างเป็นรหัสในครั้งนี้จึงจำเป็นต้องมีคำจำกัดความที่กำหนดโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยกำกับอยู่ด้วย  โดยจัดพิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวบางขนาดเล็กใต้ชื่อโรคและอาการที่เป็นชื่อของแต่ละรหัส  เช่น

 

 

U50.0                                            แพ้ท้อง

                                         อาการคลื่นไส้  อาเจียน  ที่พบในสตรีตั้งครรภ์ในช่วงระยะไตรมาสแรก  และอาการดีขึ้นหลังจากนั้น

 

 

รหัสการวินิจฉัยโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๖ กลุ่มรหัส  ดังนี้

U50 – U52   โรคของสตรี

U54 – U55   โรคของเด็ก

U56 – U60   โรคที่เกิดอาการหลายระบบ

U61 – U72   โรคที่เกิดเฉพาะตำแหน่ง

U74 – U75   โรคและอาการอื่น

U77                                               การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

                                               

จะสังเกตเห็นว่ายังไม่มีการกำหนดรหัสในบางกลุ่มรหัส  ได้แก่  U53, U73, และ U76  ทั้งนี้เพื่อรองรับการเพิ่มเติมของรหัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

คำและเครื่องหมายที่ใช้

 

                                                ในหนังสือรหัสการแพทย์แผนไทยนี้ได้คงการใช้คำและเครื่องหมายตามแบบฉบับของ ICD-10 อยู่  เพียงแต่พยายามใช้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น  เพื่อลดการตีความที่อาจทำให้เกิดความสับสน  คำและเครื่องหมายที่ใช้ในหนังสือประกอบด้วย

                                                ๑.         คำว่า  และ  (ตรงกับคำภาษาอังกฤษใน ICD-10 ว่า “and”) มีความหมายว่า และ/หรือ  เช่น

 

 

 U61                                  โรคและอาการของศีรษะ, สมอง และระบบประสาท

 

 

                                                            หมายความว่า  รหัสในกลุ่ม U61 ทั้งหมดเป็นรหัสสำหรับโรค และ/หรือ อาการของศีรษะ, สมอง และ/หรือ ระบบประสาท  บางรหัสเป็นรหัสของโรค  บางรหัสเป็นรหัสของอาการ  บางโรคเกิดเฉพาะศีรษะ  บางโรคเกิดเฉพาะสมอง  บางโรคเกิดเฉพาะระบบประสาท  และบางโรคเกิดกับทั้งสมองและระบบประสาท

 

                                                ๒.         คำว่า หรือ (ตรงกับคำภาษาอังกฤษใน ICD-10 ว่า “or”)  มีความหมายว่า หรือ  ใช้สำหรับแสดงชื่อโรคหรืออาการที่มีรหัสเดียวกัน  ไม่ว่าแพทย์จะบันทึกชื่อใดก็ใช้รหัสนั้น  เช่น

 

                       

U61.0                                            อัมพฤกษ์ หรือ ลมอัมพฤกษ์

 

 

                                                            หมายความว่าไม่ว่าแพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น อัมพฤกษ์ หรือ ลมอัมพฤกษ์ ก็ใช้รหัส  U61.0  เหมือนกัน

 

                                                ๓.         คำว่า ไม่รวม (ตรงกับคำภาษาอังกฤษใน ICD-10 ว่า “excludes”)  ปรากฏอยู่ใต้ชื่อรหัสหรือชื่อกลุ่มรหัส  เพื่อแสดงว่ารหัสหรือกลุ่มรหัสนั้นไม่รวมชื่อโรคและอาการใดบ้าง  และมีวงเล็บ (  ) ระบุรหัสสำหรับชื่อโรคและอาการที่ไม่รวมถึงนั้น  เช่น

                                                 

 

 

U55.9                                            โรคของเด็ก, ไม่ระบุรายละเอียด

                                                                                        ไม่รวม:                            โรคของเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี, ไม่ระบุรายละเอียด (U54.9)

 

 

                                                            หมายความว่ารหัส U55.9 นี้ไม่รวมโรคที่ไม่ระบุรายละเอียดของเด็กอายุไม่เกิน ๕ ปี  ซึ่งโรคกลุ่มนี้ใช้รหัสในวงเล็บ คือ U54.9

 

                                                ๔.         เครื่องหมายวงเล็บ “[  ]”  ใช้แสดงว่าคำที่อยู่ในวงเล็บมีความหมายเหมือนกันกับคำที่อยู่หน้าวงเล็บ  แตกต่างกันเพียงตัวสะกดเท่านั้น  เช่น

 

 

U54.1                                            สำรอกทับทราง [ ซาง ]

 

 

                                                            หมายความว่าไม่ว่าแพทย์จะบันทึกว่า สำรอกทับทราง หรือบันทึกว่า สำรองทับซาง  ให้ใช้รหัส U54.1 เหมือนกัน  เพราะคำว่า ทราง กับ ซาง คือคำเดียวกัน  ต่างกันที่ตัวสะกดเท่านั้น

 

 

เลือกให้รหัสการวินิจฉัยที่ละเอียดที่สุด

 

                                                หลักการให้รหัสการวินิจฉัยของ ICD-10 และ ICD-10-TM คือต้องเลือกให้รหัสการวินิจฉัยที่ละเอียดที่สุดเสมอ  ดังนั้นโรคหรืออาการใดที่มีรหัสละเอียดถึง ๕ หลัก  ต้องให้รหัส ๕ หลัก  และรหัส ๓ หลักและ ๔ หลักที่เป็นรหัสแม่ของรหัส ๕ หลักนั้นจะถูกงดใช้โดยปริยาย  ในบัญชีรหัสการวินิจฉัยโรคและอาการได้พิมพ์รหัสที่งดใช้ด้วยสาเหตุนี้ด้วยอักษรสีขาวบนพื้นสีดำ  เช่น

 

 

 U56                                  ไข้

 

 U56.0                           โรคที่เกี่ยวกับไข้

 

U56.00                                        ไข้เหือด

ให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว  ให้เชื่อมมัว  ให้ปวดศีรษะ  วันหนึ่ง  สองวัน  ผุด

ขึ้นมาเป็นผื่นปื้นหนาๆ  อาจขึ้นทั่วทั้งตัวได้  ถ้าหลบเข้าในท้องให้ลง  ลักษณะหัด

เหือดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

 

                                               

จากตัวอย่างนี้  หากแพทย์แผนไทยวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นไข้เหือด  ผู้ให้รหัสต้องให้รหัสที่ละเอียดที่สุดคือ U56.00  ห้ามให้รหัส U56 และ U56.0  ทั้งนี้จะสังเกตเห็นว่ารหัส U56 และ U56.0  ซึ่งเป็นรหัสแม่ของรหัส U56.00 จะเป็นรหัสพื้นสีดำ  หมายความว่าเป็นรหัสที่งดใช้  แต่ยังจัดพิมพ์ไว้ในบัญชีเพื่อแสดงโครงสร้างของระบบรหัสให้คงอยู่

 

 

 

 

โรคและอาการอื่นที่ระบุรายละเอียด

 

                                                รหัสการวินิจฉัยย่อยที่ลงท้ายด้วยเลข 8   ส่วนใหญ่หมายถึงโรคและอาการอื่นที่ระบุรายละเอียด  เช่น

 

 

 U75.2                           อาการทางจิตใจ

 

                                                                                                    U75.20                                    เครียด หรือ วิตกกังวล

 

                                                                           U75.21                                    ซึมเศร้า

 

                                                                                                    U75.22                                    นอนไม่หลับ

                                                                                                                                                                                   

                                                                                                    U75.28                                    อาการอื่นทางจิตใจ, ที่ระบุรายละเอียด

 

                                                                                                    U75.29                                    อาการทางจิตใจ, ไม่ระบุรายละเอียด

 

                                               

                                                รหัส  U75.28  อาการอื่นทางจิตใจ, ที่ระบุรายละเอียด  ใช้เมื่อแพทย์ระบุคำวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตใจที่ระบุรายละเอียดชัดเจน  แต่ไม่มีรหัสเฉพาะสำหรับอาการนั้นในบัญชีรหัสอาการทางจิตใจ  เช่น  วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอน  ซึ่งเป็นอาการทางจิตใจ  แต่ไม่ตรงกับรหัส  U75.20, U75.21, และ U75.22 

 

พยายามหลีกเลี่ยงการให้รหัสที่ไม่ระบุรายละเอียด

 

                                                รหัสการวินิจฉัยโรคและอาการที่ลงท้ายด้วยเลข 9  ส่วนใหญ่เป็นรหัสที่ไม่ระบุรายละเอียด  ถือว่าเป็นรหัสที่มีคุณค่าในเชิงเวชสถิติต่ำกว่ารหัสอื่น  ผู้ให้รหัสควรพยายามหลีกเลี่ยงการให้รหัสประเภทนี้  โดยปรึกษาแพทย์ก่อนให้รหัสหากพบว่าแพทย์วินิจฉัยไม่ละเอียด  ตัวอย่างรหัสที่ไม่ระบุรายละเอียดที่ควรหลีกเลี่ยง  เช่น

 

 

                                       U50.9                                     ความผิดปกติของสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด, ไม่ระบุรายละเอียด

                                                    U51.9                                     ความผิดปกติของโลหิตระดู, ไม่ระบุรายละเอียด

                                                    U52.9                                     โรคและอาการของสตรี, ไม่ระบุรายละเอียด

                                                    U54.9                                     โรคของเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี, ไม่ระบุรายละเอียด

                                                    U55.9                                     โรคของเด็ก, ไม่ระบุรายละเอียด

 

 

อย่าให้รหัสของอาการหากทราบชื่อโรคที่เป็นต้นเหตุ

 

                                                หากแพทย์บันทึกทั้งชื่ออาการและชื่อโรคที่เป็นต้นเหตุของอาการนั้น  ให้เลือกให้รหัสเฉพาะรหัสของโรคที่เป็นต้นเหตุ  ไม่ต้องให้รหัสของอาการนั้น  เช่น  แพทย์บันทึกคำวินิจฉัยว่า

                                                            (๑)                    ลมกองหยาบ

                                                            (๒)                    จุกเสียด

  ในกรณีนี้ให้รหัสเฉพาะ  U57.0  ลมกองหยาบ  เพียงรหัสเดียว  ไม่ต้องให้รหัส U66.70  จุกเสียดแน่นท้อง  ร่วมด้วย

 ตัวอย่างการให้รหัสโรคป่วง

Image

 

 

Image 

 

 

วิธีค้นหารหัสจากดรรชนี

 

                                                ส่วนที่สามของหนังสือเล่มนี้คือดรรชนีรหัสโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทย  มีไว้สำหรับการค้นหารหัสโรคและอาการ  โดยเรียงลำดับคำหลักและคำย่อยตามพยัญชนะไทย  จาก ก ไปถึง ฮ  เช่นเดียวกับปทานุกรม  คำที่เป็น คำหลัก ในการค้นหารหัสจะพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์หนา  และคำที่เป็น คำย่อย ในการค้นหารหัสจะพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์บาง  และมีขีด – หน้าคำ  โดยจำนวนขีดจะแสดงระดับของคำย่อย  คำย่อยระดับที่หนึ่งจะมีขีดนำหน้า ๑ ขีด  คำย่อยระดับที่สอง (ซึ่งเป็นคำย่อยของคำย่อยระดับที่หนึ่ง) จะมีขีดนำหน้า ๒ ขีด  และคำย่อยระดับที่สาม (ซึ่งเป็นคำย่อยของคำย่อยระดับที่สอง) จะมีขีดนำหน้า ๓ ขีด   ฯลฯ

                                                คำหลัก คือ คำที่แสดงว่าเป็นโรคหรือมีความผิดปกติ  ไม่ใช่คำที่มาขยายว่าเป็นโรคแบบใด  หรือบอกว่าเกิดโรคที่อวัยวะใดหรือส่วนใดของร่างกาย  ผู้ให้รหัสพึงวิเคราะห์คำวินิจฉัยของแพทย์ว่าส่วนใดในคำวินิจฉัยเป็นคำหลัก  เช่น  แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น กษัยกล่อนลม  คำที่เป็นคำหลักคือคำว่า กษัย  ส่วนคำว่า กล่อน และคำว่า ลม เป็นเพียงคำที่มาขยายคำว่า กษัย  เมื่อเปิดดรรชนีหารหัสโดยใช้คำว่า กษัย เป็นคำหลักจะพบดังนี้

 

 

กษัย   U60.9

กล่อน  U60.29

– –           ดิน   U60.20

– –           เถา   U60.24

– –           น้ำ   U60.21

– –           ไฟ   U60.23

– –           ลม   U60.22

 

 

                                                จากดรรชนีในตัวอย่างข้างต้นจะพบว่า

·        ถ้าต้องการหารหัสของคำว่า กษัยกล่อนลม  จะได้รหัส  U60.22

·        ถ้าต้องการหารหัสของคำว่า กษัยกล่อน  จะได้รหัส  U60.29

·        ถ้าต้องการหารหัสของคำว่า กษัย  จะได้รหัส  U60.9

                                                ซึ่งรหัส  U60.29  และ  U60.9  เป็นรหัสที่ไม่ระบุรายละเอียดของคำวินิจฉัย  ควรหลีกเลี่ยง

 

                                                ในกรณีที่แพทย์บันทึกชื่อคำวินิจฉัยที่มีคำว่า โรค หรือคำว่า ความผิดปกติ อยู่ด้วย  ให้ใช้คำว่า โรค หรือคำว่า ความผิดปกติ เป็นคำหลักในการค้นหารหัสจากดรรชนี      

                                                เมื่อผู้ให้รหัสค้นรหัสจากดรรชนีได้แล้ว  แนะนำให้ตรวจสอบรหัสที่ค้นได้ในบัญชีรหัสโรคและอาการในส่วนที่สองของหนังสือเล่มนี้ก่อน  ซึ่งในส่วนนี้จะมีคำจำกัดความของโรคและอาการ  รวมทั้งเงื่อนไขการให้รหัสบางประการ  เช่น  รหัสนี้ไม่รวมถึงโรคและอาการใด  เมื่อแน่ใจว่าได้รหัสที่มีความหมายตรงกับความต้องการแล้วจึงค่อยบันทึกรหัสนั้น

 

 

 

 

 

รหัสหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย

 

                                                เป็นส่วนหนึ่งของรหัสการผ่าตัดและหัตถการในระบบ ICD-10-TM  มีลักษณะเป็นรหัสตัวเลขอารบิก ๗ หลัก  แบ่งเป็น ๓ ส่วน  ดังนี้

ส่วนต้น        ประกอบด้วยรหัสเลข ๓ หลักแรก  แสดงตำแหน่งของอวัยวะหรือส่วนของร่างกายที่แพทย์ได้ทำหัตถการนั้น  บัญชีรหัส ๓ หลักแรกที่เกี่ยวกับหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยได้แสดงไว้ในหน้าสุดท้ายของส่วนที่สี่ของหนังสือเล่มนี้   

ส่วนกลาง     ประกอบด้วยรหัสเลข ๒ หลักกลาง  แสดงประเภทของหัตถการ  สำหรับหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยมีรหัส ๒ หลักกลาง ๓ รหัส  ได้แก่

                   77                   หมายถึง  การบริบาลมารดาและทารกด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย

                   78                   หมายถึง  การบำบัดรักษาโรคและอาการด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย

                   79                   หมายถึง  การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย

ส่วนท้าย      ประกอบด้วยรหัสเลข ๒ หลักท้าย  แสดงชนิดของหัตถการ 

 

                                                                หัตถการหลายหัตถการสามารถทำกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งหรือหลายอวัยวะก็ได้  ทำกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วนก็ได้  หรืออาจทำกับทั่วทั้งร่างกายก็ได้  หัตถการเหล่านี้ในบัญชีรหัสจะพิมพ์เลขรหัสส่วนต้น ๓ หลักแรกเป็นเลข 900  ซึ่งหมายถึงทั้งร่างกาย เอาไว้ก่อน  และพิมพ์หมายเหตุว่า

 

 

หมายเหตุ :                         ในกรณีที่มิได้ทำหัตถการต่อทั้งร่างกายของผู้ป่วย  เลือกเปลี่ยนเลขรหัสสามหลักแรกจากเลข 900  เป็นเลขรหัสที่แสดงตำแหน่งอวัยวะซึ่งแพทย์ได้ทำหัตถการนั้น   ตามที่ระบุในบัญชีรหัสอวัยวะท้ายส่วนที่สี่นี้

 

 

                                                หมายความว่าถ้าแพทย์ทำหัตถการนั้นกับทั้งร่างกายก็ให้ใช้เลขรหัส ๓ หลักแรกเป็น 900 เหมือนในบัญชีรหัส  แต่ถ้าทำกับเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง  หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  ให้เปลี่ยนเลขรหัส ๓ หลักแรกเป็นเลขรหัสที่แสดงตำแหน่งอวัยวะซึ่งแพทย์ได้ทำหัตถการนั้น   ตามที่ระบุในบัญชีรหัสอวัยวะท้ายส่วนที่สี่นี้  เช่น 

·        การนวดด้วยน้ำมันหอมระเหย 

·          ถ้านวดทั้งร่างกาย  ให้รหัส  900-78-10 

·          ถ้านวดเฉพาะบริเวณหลัง  ให้รหัส  590-78-10 

·          ถ้านวดเฉพาะที่ข้อเท้า  ให้รหัส  875-78-10

·        การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยการนวดตัวเพื่อสุขภาพ 

·          ถ้านวดทั้งตัว  ให้รหัส  900-79-00

·          ถ้านวดเฉพาะฝ่าเท้า  ให้รหัส  876-79-00

 


 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Sunday, 22 July 2012 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
Free template "Frozen New Year" by [ Anch ] Gorsk.net Studio. Please, don't remove this hidden copyleft! You have got this template gratis, so don't become a freak.