Header Image
หน้าแรก/Home
ข่าวสารสมุนไพรและสุขภาพ
ข่าวสารการจัดการธุรกิจสปา
ข่าวสาร/กิจกรรม
สมัครสมาชิกชมรมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
ความรู้ด้านสปาเพื่อสุขภาพ
ข้อมูลด้านการแพทย์ทางเลือก
กฎหมายวิชาชีพ/สถานพยาบาล
ข้อมูลโรค/ปัญหาสาธารณสุข
สาระสมุนไพรน่ารู้
เว็บลิ้งค์/Links
เว็บบอร์ด/Board
ผู้พัฒนาเว็บไซต์/เว็บมาสเตอร์
ค้นข้อมูล/Advanced Search
ห้องสมุดออนไลน์รวมลิ้งก์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
เว็บเครือข่าย
BanBuaThai.com
สนง.ส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ
มูลนิธิการแพทย์ทางเลือกเพื่อมะเร็ง
ได้รับความนิยมสูง
ข่าวสารล่าสุด
สถิติการใช้งาน
ผู้เยี่ยมชม: 2973911
หน้าแรก/Home arrow ข่าวสารสมุนไพรและสุขภาพ
สมุนไพรไทยปราบชิคุนกุนยา PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท-Webmaster   

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)/โรคไข้ปวดข้อยุงลาย

 

 

 

รู้จักโรคชิคุนกุนยา/โรคไข้ปวดข้อยุงลายและการรับมือกับโรค
 
แปลและเรียบเรียงโดย .อุไรรัตน์ สิงหนาท/เว็บมาสเตอร์


             โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อที่่มียุงลาย (Aedes Aegypti) ตัวเมียเป็นพาหะนำโรค (เช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก)

    

  ภาพจาก

 

ความหมายของโรคชิคุนกุนยา
 

       โรคชิคุนกุนยาพบการรายงานโรคครั้งแรกในปี ค.ศ. 1952 ในแถบอาฟริกากลางที่ประเทศแทนซาเนียและอูกันดา ซึ่งเคยระบาดอย่างรุนแรง (massive outbreak) ในเกาะประเทศฝรั่งเศส (the French Island of La Reunion แถบ Indian Ocean ในปี ค.ศ. 2005 และ 2006 รวมทั้งเกาะข้างเคียง โดยเฉพาะเกาะมาริตุส (Mauritius) และปัจจุบันมาระบาดอีกครั้งในประเทศแถบเอเชีย จึงถือเป็นโรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-Emerging disease)ในบางภูมิภาคของโลกเรียกชื่อโรค Chikungunya นี้ว่า "Chicken Guinea"ที่หมายความว่าไก่ประเทศกินี ทั้งที่ความจริงไม่เกี่ยวข้องกับไก่หรือประเทศกินีแต่อย่างใด เป็นการเรียกตามคำพ้องเสียงในภาษาอังกฤษ (Anglicization) เท่านั้น

 

Chikungunya

http://avancer.canalblog.com/images/060307145616.2c1hfs890_le_chikungunya___la_reunionb2.jpg

 

         คำว่า "Chikungunya" มีรากศัพท์มาจากภาษา Makonde ของประเทศแทนซาเนีย ซึ่งหมายถึงสิ่งใดที่มีลักษณะโค้งงอขึ้นด้านบน (That which blends up) เนื่องจากอาการปวดข้อที่รุนแรงของผู้ป่วย ทำให้ข้อต่อที่ปวดมีลักษณะงอพับขึ้นด้านบนดังกล่าว ผู้ที่เริ่มอธิบายรายละเอียดของโรคนี้เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1955 คือ Marion Robinson and W.H.R. Lumsden

           จากการศึกษาวิเคราะห์ตามแนวอายุรเวท พบว่า อาการ "ปวดในข้อ (Pain of joints)" ของโรคชิคุนกุนยา คล้ายกับอาการปวดในข้อที่อายุรเวทใช้คำเรียกภาวะนี้ว่า "Sandhi Jwara" ในภาษาสันสกฤต ประเทศอินเดียจึงได้นำหลักการดูแลรักษาภาวะปวดในข้อมาประยุกต์ในการดูแลผู้ป่วยชิคุนกุนยาได้เป็นอย่างดี

 


    

 

            โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า "Alphavirus หรือ Arbovirus" สกุล Togaviridiae family เชื้อไวรัสนี้เมื่อผ่านเข้าไปอยู่ในร่างกายของยุง จะมีความแข็งแรงขึ้นโดยยุงจะไม่ติดโรคแต่ยุงเป็นเพียงพาหะนำโรคเท่านั้น เชื้อโรคจะแข็งแรงจนเมื่อไปกัดคนที่มีร่างกายแข็งแรงก็สามารถก่อโรคได้ ซึ่งการแพร่กระจายผ่านทางการถูกยุงลายกัดในตอนกลางวันรวมทั้งตอนเช้าตรู่หรือรุ่งอรุณและตอนพลบค่ำ ระยะฟักตัว 2-4 วัน ลักษณะอาการมีตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการไปจนถึงอาการรุนแรงจนต้องลงไปคืบคลาน (severe crippling disease) บางรายมีอาการไข้ร่วมกับการปวดข้ออย่างรุนแรงเป็นอาการแบบเฉียบพลัน ส่วนอาการพื้นฐานของโรคคือมีไข้ร่วมกับอาการปวดข้อ และมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออกเช่นกัน (viral haemorrhagic fever) ปกติโรคนี้ไม่รุนแรงถึงตาย เพราะสามารถรักษาให้ทุเลาหรือหายได้ ภายใน 5-7 วัน หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

            ด้วยเหตุที่ยุงลายชอบวางไข่ในน้ำขังและน้ำนิ่ง เราจึงควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยการคว่ำภาชนะที่อาจมีน้ำลงไปขัง หรือปิดฝาภาชนะบรรจุน้ำให้มิดชิด และกำจัดลูกน้ำยุงในภาชนะบรรจุน้ำ เช่น ตักลูกน้ำในอ่างทิ้ง เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 7 วัน ใส่ทรายอะเบทลงในโอ่งน้ำใช้ ฉีดพ่นสารเคมีในบริเวณบ้านและในชุมชน โดยทุกบ้านต้องร่วมมือกันในการกำจัดยุง ได้แก่ เปิดบ้านให้สารเคมีที่พ่นเข้าไปในทุกซอกมุมของบ้านให้มากที่สุด เป็นต้น ส่วนการป้องกันยุงกัด เช่น นอนในมุ้งที่ชุบสารเคมีป้องกันยุง เป็นต้น ส่วนในไทยแถบภาคใต้จะมีป่าพรุที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้เป็นอย่างดี ชุมชนก็ควรช่วยกันหาวิธีป้องกันกำจัดหรือจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่ของยุงได้ 

 

อาการของผู้ป่วย

  •  ไข้สูง ในวันที่มีไข้จะเป็นการจับไข้ขึ้นและลง (typically biphasic)

  •  อาการปวดทั่วร่างกายแบบเฉียบพลัน

  •  ปวดบวมตามข้อต่างๆ อาการปวดคล้ายของแหลมแทง และอาการปวดจะย้ายไปปวดที่ข้อต่างๆ ได้

  •  ปวดศีรษะมาก

  •  มีผื่นขึ้นตามร่างกาย โดยเฉพาะส่วนลำตัวและแขนขา ในช่วงวันที่ 2-5 ของอาการเจ็บป่วย

  •  ในระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา โดยเฉพาะอาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวลูกตา และมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) หากอาการรุนแรงทำให้มีเลือดออกในร่างกาย อาจเกิดภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตา (subconjunctival haemorrhage) ไปจนถึงเลือดออกที่เรตินาและมีการอักเสบของเรตินาของตาทั้งสองข้าง หากมีอาการปรากฎที่ตา ควรรับการตรวจตาอย่างละเอียดโดยเฉพาะ การตรวจ Fundus Examination จากจักษุแพทย์ และรีบรักษาโดยทันทีที่พบ เพื่อป้องกันการสูญเสียความสามารถในการมองเห็น (loss of vision)

  •  สูญเสียการรับรสของลิ้น

  •  มีแผลในปากบริเวณเพดานและกระพุ้งแก้ม

       โดยทั่วไปอาการไข้จะลดลงภายใน 2-3 วัน ซึ่งระยไม่มีไข้ (remission) อาจจะอยู่ระหว่าง 1-6 วัน แต่อาการอื่นๆ จะปรากฏอยู่อีก 1 สัปดาห์ หรือยาวนานกว่านั้น ส่วนอาการไข้จะต่างจากไข้ทั่วๆ ไป คือ มีอาการหนาวสั่น และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

 

Patient http://ilprofessorechos.blogosfere.it/images/chikungunya.jpg

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

         ในผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่เสียชีวิต พบว่าไม่ได้เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคโดยตรง แต่มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อน  เพราะเชื้อโรคชนิดนี้มีความสามารถในการทำลายระบบภูมิต้านทานของร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว

         ชิคุนกุนยามักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้ป่วย 2 กลุ่มอายุ คือ

  •  วัยสูงอายุ เพราะมีแนวโน้มที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะอ่อนแอลง ถ้าป่วยด้วยโรคนี้อาจจะเกิดผิดปกติของระบบประสาทสมอง เช่น ภาวะความจำเสื่อม หลงลืมง่าย (Dementia) อาการอัมพาต และผิดปกติที่ไต

  • กลุ่มวัยเด็ก เพราะไม่สามารถชี้ชัดหรือบอกเล่าอาการเจ็บป่วยได้อย่างชัดเจน กว่าจะวินิจฉัยได้อาจสายเกินไปแล้ว

             ประเทศอินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่พบการระบาดของโรคชิคุนกุนยา มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 ครั้งแรกพบที่กัลกัตตา (Kolkata) และพบการระบาดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1965 ในหลายพื้นที่ โดยการระบาดครั้งใหญ่พบในปี ค.ศ.1973 ที่ Barsi และ Maharashtra ซึ่งครั้งล่าสุดเกิดการระบาดในแถบมลรัฐตอนใต้ของประเทศอินเดียและใกล้เคียง ภายหลังภาวะน้ำท่วม (น่าสังเกตว่าโรคระบาดในช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูฝน เพราะมีน้ำขังและแหล่งเพาะพันธุ์ยุง) เฉพาะประเทศอินเดียมีรายงานผู้ป่วยจนถึงปัจจุบันมีจำนวนกว่า 1,300,000 คน ครั้งนั้นมีการระดมสรรพกำลังเข้าไปรับมือกับโรค ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในการดูแลรักษาสุขภาพให้กับคนในชาติมายาวนาน ก็ได้พยายามช่วยศึกษาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาการระบาดของโรคตลอดจนปัญหา สาธารณสุขต่างๆ มาโดยตลอด เว็บมาสเตอร์ไปพบบทความที่เกี่ยวข้องกับความรู้เกี่ยวกับโรค การระบาด และข้อเสนอแนะในการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วยด้วยโรคนี้ตามหลักอายุรเวท ซึ่งอ่านแล้วคาดว่าจะใช้ได้กับคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสังเกตอาการ การรับประทานอาหาร การใช้สมุนไพรรักษาและบรรเทาอาการของโรคชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่่มียุงลาย (Aedes Aegypti) ตัวเมียเป็นพาหะนำโรค (เช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) สำนักโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

 

"ชิคุนกุนยา" โรคร้ายฤดูฝนของคนใต้

Chikungunya 

 

 Chikungunya Fever, a re-emerging Disease in Asia-WHO

 Kerala

http://www.instablogsimages.com/images/2007/07/19/child-infected-by-chikungunya_5106_310x235.jpg

สมุนไพรไทยปราบโรคชิคุนกุนยา

 สมุนไพรไทยปราบชิคุนกุนยา

 ภาพจาก http://www.thaihealth.or.th/node/9125

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Friday, 11 October 2013 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
Free template "Frozen New Year" by [ Anch ] Gorsk.net Studio. Please, don't remove this hidden copyleft! You have got this template gratis, so don't become a freak.